เมนู

8. กาสาววรรค



1. กาสาวชาดก



ว่าด้วยผู้ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ


[291] ผู้ใดยังมีกิเลสดุจน้ำฝาด ยังคายออกไม่ได้
ปราศจากทมะและสัจจะ จักนุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด
ผู้นั้นย่อมไม่สมควรจะนุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาดเลย.
[292] ส่วนผู้ใดคายกิเลสดุจน้ำฝาดแล้ว ตั้งมั่น
อยู่ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยทมะและสัจจะ
ผู้นั้นแลย่อมสมควรจะนุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาดได้.

จบ กาสาวชาดกที่ 1

อรรถกถากาสาววรรคที่ 8



อรรถกถาสาวชาดกที่ 1



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
อนิกฺกสาโว กาสาวํ ดังนี้. แต่เรื่องเกิดขึ้นในกรุงราชคฤห์.
สมัยหนึ่งพระธรรมเสนาบดีอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหารกับ
ภิกษุ 500 รูป. ครั้งนั้นพระเทวทัตห้อมล้อมไปด้วยบริษัท
ผู้ทุศีลสมควรแก่ตนอยู่ ณ คยาสีสประเทศ. สมัยนั้นชาวกรุง

ราชคฤห์เรี่ยไรกันจัดเตรียมทาน. ครั้งนั้นมีพ่อค้าผู้มาเพื่อ
ทำการค้าขายผู้หนึ่ง ได้ให้ผ้ากาสาวะมีกลิ่นหอม มีค่ามาก ว่า
ท่านทั้งหลายจงจำหน่ายผ้าสาฎกนี้แล้วให้เรามีส่วนบุญร่วมด้วย
เถิด. ชาวพระนคร ถวายทานกันมากมาย. วัตถุทานทุกอย่างที่
ร่วมใจกันรวบรวมจัดครบเรียบร้อยแล้วด้วยกหาปณะทั้งนั้น.
ผ้าสาฎกผืนนั้นจึงได้เหลือ. มหาชนประชุมกันว่า ผ้าสาฎกมี
กลิ่นหอมผืนนี้เป็นของเกิน เราจะถวายผ้าผืนนั้นแก่รูปไหน
เราจักถวายแก่พระสารีบุตร หรือแก่พระเทวทัต. ในมนุษย์
เหล่านั้น บางพวกกล่าวว่า จักถวายแก่พระสารีบุตรเถระ อีก
พวกหนึ่งกล่าวว่า พระสารีบุตรเถระอยู่ชั่ว 2-3 วันแล้วก็จะ
หลีกไปตามชอบใจ ส่วนพระเทวทัตอยู่อาศัยเมืองของเราแห่ง
เดียวเป็นประจำ ท่านองค์นี้แหละได้เป็นที่พึ่งของเราทั้งในงาน
มงคลและอวมงคล พวกเราจักถวายแก่พระเทวทัต. แม้พวกที่
กล่าวกันไปหลายอย่างนั้น พวกที่กล่าวว่า เราจักถวายแก่พระ-
เทวทัตมีมากกว่า. มหาชนจึงได้ถวายผ้านั้นแก่พระเทวทัต. พระ-
เทวทัตให้ช่างตัดผ้ากาสาวะมีกลิ่นหอมนั้นออก แล้วให้เย็บเป็น
สองชั้น ให้ย้อมจนมีสีดังแผ่นทองคำห่ม.
ในกาลนั้น ภิกษุประมาณ 300 รูป ออกจากกรุงราชคฤห์
ไปยังกรุงสาวัตถี ถวายบังคมพระศาสดา พระศาสดาทรงทำ
ปฏิสันถารแล้วได้ทูลให้ทรงทราบเรื่องราว แล้วกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ พระเทวทัตห่มผ้ากาสาวะอันเป็นธงชัยของ

พระอรหันต์อันไม่สมควรแก่ตนอย่างนี้. พระศาสดาตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตนุ่งห่มผ้ากาสาวะอันเป็นธงชัยของ
พระอรหันต์อันไม่สมควรแก่ตนในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้
เมื่อก่อนเทวทัตก็นุ่งห่มแล้วเหมือนกัน ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัส
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลช้างที่ป่าหิมพานต์
ครั้นเติบใหญ่แล้วได้เป็นหัวหน้าโขลงมีช้าง 84,000 เชือก
เป็นบริวาร อาศัยอยู่ในราวป่า ครั้งนั้นมีมนุษย์เข็ญใจผู้หนึ่ง
อาศัยอยู่ในกรุงพาราณสี เห็นช่างกลึงงาที่ถนนช่างทำเครื่องงา
กำลังทำเครื่องงาต่าง ๆ มีกำไลงาเป็นต้น จึงถามว่า ท่านได้
งาช้างแล้วจักรับซื้อไหม. พวกช่างงาตอบว่า เรารับซื้อซิ.
มนุษย์เข็ญใจนั้นรับว่า ตกลง จึงถืออาวุธนุ่งห่มผ้าย้อมฝาด
คลุมศีรษะยืนคอยอยู่ที่ทางช้างผ่าน ใช้อาวุธฆ่าช้างแล้วเอางา
มาขายที่เมืองพาราณสีเลี้ยงชีพ. ต่อมาคนเข็ญใจนั้นได้เริ่มฆ่า
ช้างบริวารของพระโพธิสัตว์ที่เดินล้าหลังช้างทั้งหมด. เมื่อช้าง
ขาดหายไปทุกวัน ๆ พวกช้างจึงแจ้งแก่พระโพธิสัตว์ว่า ช้าง
ขาดหายไปด้วยเหตุอะไรหนอ. พระโพธิสัตว์คอยสังเกตดู ก็
รู้ว่า บุรุษคนหนึ่งถือเพศอย่างพระปัจเจกพุทธเจ้ายืนอยู่ที่ริมทาง
ช้างผ่าน เจ้าคนนี้กระมังฆ่าช้าง เราจักคอยจับมัน วันหนึ่งจึง
ให้พวกช้างเดินไปข้างหน้าตน ตนเองเดินไปข้างหลัง. มนุษย์

เข็ญใจ เห็นพระโพธิสัตว์จึงถืออาวุธตรงเข้าไป. พระโพธิสัตว์
ถอยหลังกลับมายืนอยู่ คิดว่า จักจับฟาดดินให้ตาย จึงยื่นงวง
ออกเห็นผ้ากาสายะที่มนุษย์นั้นนุ่งห่มอยู่ คิดว่า ผ้ากาสายะอัน
เป็นธงชัยของพระอรหันต์นี้เราควรทำความเคารพ จึงม้วนงวง
หดกลับแล้วกล่าวว่า นี่แน่ะเจ้าบุรุษ ผ้ากาสายะอันเป็นธงชัย
ของพระอรหันต์นี้ไม่สมควรแก่เจ้ามิใช่หรือ ไฉนเจ้าจึงห่มผ้า
ผืนนั้นเล่า ได้กล่าวคาถานี้ว่า
ผู้ใดมีกิเลสดุจน้ำฝาด ปราศจากทมะและ
สัจจะ จักนุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด ผู้นั้นย่อมไม่สม
ควรจะนุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาดเลย. ส่วนผู้ใดคาย
กิเลสดุจน้ำฝาดแล้ว ตั้งมั่นอยู่ในศีลทั้งหลาย
ประกอบด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นแลย่อมสม
ควรจะนุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาดได้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนิกฺกสาโว ความว่า ท่านเรียก
กิเลสเพียงดังว่าน้ำฝาดนั้นได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ มักขะ
(ความลบหลู่คุณท่าน) ปลาสะ (ตีเสมอท่าน) อิสสา (ความริษยา)
มัจฉริยะ (ความตระหนี่) มายา (เจ้าเล่ห์) สาเถยยะ (ความ
โอ้อวด) ถัมภะ (หัวดื้อ) สารัมภะ (แข่งดี) มานะ (ความถือตัว)
อติมานะ (ดูหมิ่นท่าน) มทะ (ความมัวเมา) ปมาทะ (ความ
เลินเล่อ) อกุสลธรรมทั้งหมด ทุจจริตทั้งหมด กรรมที่นำไปสู่
ภพทั้งหมด กิเลสพันห้า นี่ชื่อว่า กสาวะกิเลสเพียงดังว่าน้ำฝาด.

กิเลสเพียงดังว่าน้ำฝาดนั้น บุคคลใดยังละไม่ได้ ยังอาศัยอยู่
ยังไม่ออกจากสันดานของบุคคลใด บุคคลนั้นชื่อว่ามีกิเลสเพียง
ดังว่าน้ำฝาดอันยังไม่คายออก. บทว่า กาสาวํ ได้แก่ มีสีเหลือง
อันเป็นรสของน้ำฝาด เป็นธงชัยของพระอรหันต์. บทว่า โย
วตฺถํ ปริทหิสฺสิ
ความว่า ผู้ใดเป็นอย่างนี้จักใช้สรอย คือ
นุ่งและห่มผ้าชนิดนี้. บทว่า อเปโต ทมสจฺเจน ความว่า บุคคล
นั้นเป็นผู้ปราศจาก คือ ห่างไกลจากทมะอันได้แก่ การฝึก
อินทรีย์และปรมัตถสัจจะอันได้แก่ พระนิพพาน. บทว่า น โส
กาสาวมรหติ
ความว่า บุคคลนั้น ไม่คู่ควรผ้ากาสาวะอันเป็น
ธงชัยของพระอรหันต์ เพราะยังมีกิเลสเพียงดังว่าน้ำฝาด ยัง
คายออกไม่ได้ จึงไม่สมควรแก่ผ้ากาสาวะนั้น. บทว่า โย จ
วนฺตกสาวสฺส
ความว่า ส่วนบุคคลใด ชื่อว่าเป็นผู้มีกิเลสเพียง
ดังน้ำฝาดคายออกแล้ว เพราะกิเลสเพียงดังน้ำฝาดตามที่กล่าว
แล้วนั่น คายออกหมดแล้ว. บทว่า สีเลสุ สุสมาหิโต คือเป็นผู้
มั่นคงด้วยศีลในมรรคศีล และผลศีล คือตั้งมั่นในมรรคศีลและ
ผลศีลเหล่านั้น ดุจน้ำมาตั้งไว้. บทว่า อุเปโต ได้แก่ ถึงพร้อม
คือ ประกอบพร้อม. บทว่า ทมสจฺเจน คือ ด้วยทมะและสัจจะ
มีประการดังกล่าวแล้ว. บทว่า ส เว กาสาวมรหติ ความว่า
บุคคลเห็นปานนี้นั้น ย่อมคู่ควรผ้ากาสาวะ อันเป็นธงชัยของ
พระอรหันต์นี้.

พระโพธิสัตว์กล่าวเหตุนี้แก่บุรุษนั้นอย่างนี้แล้ว ขู่ว่า
ตั้งแต่นี้ไป เจ้าอย่ามาที่นี่อีกเป็นอันขาด หากเจ้ามา เจ้าจะต้อง
ตายแล้วปล่อยให้หนีไป.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. บุรุษผู้ฆ่าช้างในดังนั้น ได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ ส่วน
ช้างผู้เป็นหัวหน้าโขลง คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถากาสาวชาดกที่ 1

2. จุลลนันทิยาชาดก



ผลของกรรมดีและกรรมชั่ว


[293] ปาราสริยพราหมณ์ได้กล่าวคำใดไว้ว่า
ท่านอย่าได้กระทำกรรมชั่ว อันจะทำตัวท่านให้
เดือดร้อนในภายหลังนะ คำนี้นั้น เป็นถ้อยคํา
ของท่านอาจารย์.
[294] บุรุษทำกรรมเหล่าใดไว้ เขาย่อมเห็นกรรม
เหล่านั้นในตน ผู้ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำ
กรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่นใด
ย่อมได้รับผลเช่นนั้น.

จบ จุลลนันทิยชาดกที่ 2

อรรถกถาจุลลนันทิยชาดกที่ 2



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
อิทํ ตทาจริยวโจ ดังนี้.
ความย่อมีอยู่ว่า วันหนึ่งพวกภิกษุประชุมสนทนากันใน
โรงธรรมว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าพระเทวทัตเป็นผู้
กักขฬะหยาบช้า โผงผาง ประกอบการมุ่งปลงพระชนม์พระ-